ครม.เห็นชอบหลักการปรับปรุง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ ลดภาระค่าใช้จ่าย ปชช. ติดต่อราชการ รวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น ถูกลง วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบหลักการในการปรับปรุง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 และแผนการเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อเสนอการปรับปรุง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) เสนอ
สำหรับสาระสำคัญและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯครั้งนี้
จะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามแนวทางของธนาคารโลก ใน 3 ด้าน ได้แก่
1. การบริการที่รวดเร็วขึ้น(Faster) เช่น การปรับเปลี่ยนการพิจารณาอนุญาตโดยคณะกรรมการเป็นหัวหน้าหน่วยงานคาดว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนงานที่มีการพิจารณาโดยคณะกรรมการจาก 604 งาน เหลือเพียง 43 งาน จะทำให้สามารถลดเวลาการพิจารณาได้เฉลี่ย 22 วันทำการต่องานบริการ
ส่วนการนำระบบการอนุญาตหลัก(Super License) มาใช้ในการอนุญาต จะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้เร็วขึ้น เช่น การขออนุญาตของธุรกิจค้าปลีกจากเดิมที่ต้องติดต่อไม่น้อยกว่า 13 หน่วยงาน ใช้เวลา 284 วันทำการ เหลือเพียงติดต่อ 1 ช่องทาง ใช้เวลา 185 วันทำการ และกิจการสปา จากเดิมที่ต้องติดต่อไม่น้อยกว่า 9 หน่วยงานใช้เวลา 120 วันทำการ เหลือเพียงติดต่อ 1 ช่องทาง ใช้เวลา 96 วันทำการ
2. การบริการที่ง่ายขึ้น (Easier) เช่น การให้ทดลองประกอบกิจการเป็นการชั่วคราวก่อนได้รับใบอนุญาต คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้จำนวน 19 กิจการ ในกิจการที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กิจการขายอาหารสัตว์ กิจการสปา การขยายจำนวนใบอนุญาตที่สามารถดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่ออายุใบอนุญาต
จากปัจจุบันดำเนินการได้ 31 ใบอนุญาต เพิ่มเป็น 154 ใบอนุญาต เช่น ใบอนุญาตมัคคุเทศก์ ใบอนุญาตค้าโบราณวัตถุ จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้จำนวน 890,315 ราย ภาครัฐได้รับค่าธรรมเนียมเร็วขึ้นไม่น้อยกว่า 253 ล้านบาทต่อปี และการขยายอายุใบอนุญาตเป็นไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือไม่มีอายุใบอนุญาต คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ไม่น้อยกว่า 19 ใบอนุญาต ซึ่งเป็นใบอนุญาตที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น
การออกใบอนุญาตขายปุ๋ย จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกไม่ต้องไปติดต่อราชการเพื่อขอต่ออายุใบอนุญาตทุกปีประมาณ 764,850 ราย และลดภาระค่าใช้จ่ายรวมของประชาชนในการติดต่อราชการประมาณ 590 ล้านบาทต่อปี และ
3.การบริการที่ถูกลง (Cheaper) เช่น การปรับเปลี่ยนระบบการอนุญาตเป็นการจดแจ้งเพื่อลดระยะเวลาในการขออนุญาตในกิจการที่ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ คาดว่าจะสามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนได้ 11 ใบอนุญาต และปรับเปลี่ยนจากจดแจ้งเป็นจดแจ้งออนไลน์ได้ 72 งานบริการ จาก 336 งานบริการ ผู้รับบริการประมาณ 15.85 ล้านรายต่อปี จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายรวมของประชาชนในการติดต่อราชการประมาณ 1,585 ล้านบาทต่อปี
และการกำหนดให้เมื่อใบอนุญาตชำรุด สูญหาย ไม่ต้องแจ้งความ คาดว่าจะช่วยลดจำนวนการแจ้งความลงได้ 66,000 ใบแจ้งความต่อปี ทำให้สามารถลดค่าเดินทางรวมของประชาชนประมาณ 6.6 ล้านบาทต่อปี
ส่องบัญชี ทรัพย์สิน อัศวิน ขวัญเมือง ล่าสุด หลังลงตำแหน่งผู้ว่า กทม.
ส่องบัญชี ทรัพย์สิน อัศวิน ขวัญเมือง หลังลงตำแหน่งผู้ว่า กทม. พบมีทรัพย์สิน 11 ล้านบาท ที่ดิน 6 แปลง เงินเกือบ 4 ล้าน ยานพาหนะอีก 2 ล้าน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้เผยแพร่บัญชี ทรัพย์สิน อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่เพิ่งพ้นตำแหน่งในวันที่ 24 มี.ค. 2565 หลังปฏิบัติหน้าที่มา 5 ปี
สำหรับ พล.ต.อ.อัศวิน มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 11,518,938 บาท ได้แก่ เงินฝาก 4 บัญชี 3,867,938 บาท ที่ดิน 6 แปลง (อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 5 แปลง, อ.เมือง จ.นครปฐม 1 แปลง) 5,341,000 บาท ยานพาหนะ 2 ล้านบาท ทรัพย์สินอื่น (ราคาตั้งแต่สองแสนบาทขึ้นไป) 3.1 แสนบาท (เป็นทองรูปพรรณ หนัก 10 บาท) ไม่มีหนี้สิน
แจ้งมีรายได้รวมต่อปีโดยประมาณ 2,009,520 บาท เป็นเงินเดือน 864,720 บาท เงินข้าราชการบำนาญ 646,800 บาท เงินเพิ่มข้าราชการการเมือง 498,000 บาท มีรายจ่ายรวม 704,000 บาท เป็นประกันชีวิต 1 แสนบาท ค่าสาธารณูปโภค 1.2 แสนบาท ค่าน้ำมัน 60,000 บาท ค่าโทรศัพท์ 24,000 บาท ค่าท่องเที่ยว 3 แสนบาท เงินบริจาค 1 แสนบาท
ทั้งนี้ พล.ต.อัศวิน ไม่ได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินของภรรยา เนื่องจากแจ้งสถานะว่า หย่า ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย. 2554
จากกรณีที่ เพนกวิน และ อั๋ว เข้าร่วมกิจกรรม #Saveวันเฉลิม บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2563 เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่สูญหายในวันดังกล่าว
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง